หน้าแรก   ห้องที่ 1   ห้องที่ 2   ห้องที่ 3   ห้องที่ 4   ห้องที่ 5   ห้องที่ 6   ห้องที่ 7   ห้องที่ 8   ห้องที่ 9   คณะกรรมการบริหาร

  หออัตลักษณ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนน่าน

  หออัตลักษณ์นครน่าน

ห้องที่ 4 ใต้แผ่นฟ้าแห่งเมืองน่าน

ใต้แผ่นฟ้าแห่งเมืองน่าน

วิถีชีวิต ชนเผ่า การแต่งกาย อัตลักษณ์ ของชาวน่าน โดยนำเสนอในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย ซึ่งผู้ชมสามารถจำลองการแต่งกายของชนเผ่าต่างๆ พร้อมการตกแต่งและภาพถ่ายด้วยระบบทัชสกรีน ตลอดจนสแกนคิวอาร์โค้ดส่งรูปไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่

วิถีชีวิตชนเผ่าเมืองน่าน

           วิธีชีวิตในเมืองน่านเป็นผู้รักสงบ มีจิตใจกล้าหาญ รักความซื่อสัตย์ ทำมาหากินโดยสุจริต บรรพบุรุษของชาวน่านส่วนหนึ่งเป็นไทที่อพยพจากดินแดนล้านช้างทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางชายแดนตอนเหนือของเมืองน่านบริเวณติดกับชายแดนประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นอกจากนั้นประกอบด้วยคนเมืองหรือไทยยวน ขมุ เงี้ยว (ไทยใหญ่) พม่าและลาว เป็นชนกลุ่มใหญ่ ส่วนเขตรอบนอกมีชนเผ่าต่างๆ หลากหลาย เช่น ไทลื้อ ม้ง เมี่ยนถิ่นหรือลัวะ ขมุ และบางพลี คนเมืองและชนเผ่าต่างมีชีวิตความเป็นอยู่และความเชื่อของตน บางอย่างมีความแตกต่างกัน บางอย่างคล้ายกันกับคนเมืองที่เป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม

           ชนกลุ่มย่อยมีหลายกลุ่มที่มีวิถีชีวิต ความเชื่อ และการปฏิบัติพิธีกรรม แยกย่อยออกไปมีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง มีการถ่ายทอดวัฒนธรรม รวมไปถึงมีการผสมผสานกับคนพื้นเมืองเป็นการสร้างสีสันของวัฒนธรรมเมืองน่านให้มีความโดดเด่นเฉพาะของตัวเอง


กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ

ไทลื้อ

           ไทลื้อ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนานประเทศจีน ถูกกวาดต้อนจากการทำสงครามและอพยพโดยสมัครใจเข้ามาในเมืองน่านเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีมาแล้ว ในช่วงสมัยเจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ยกทัพไปตีเชียงรุ้ง เชียงตุง และสิบสองปันนา กวาดต้อนผู้คนมาเมืองน่านเป็นอันมาก ถึงสมัยเจ้าสุมนเทวราชได้ยกทัพไปกวาดต้อนเอาคนเมืองล้า เมืองพง เมืองเชียงแข็ง เมืองหลวงภูคา และพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้ไปกวาดต้อนครอบครัวไทลื้อที่เมืองพงสิบสองปันนา โดยมาตั้งภูมิลำเนาที่เมืองเชียงม่วน และเชียงคำ สำหรับไทลื้อที่บ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา อพยพมาจากเมืองล้าในเขตสิบสองปันนา เนื่องจากมีการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองภายใน ฝ่ายที่พ่ายแพ้จึงอพยพหนีลงมาในเขตพื้นที่เมืองน่าน และกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานตามหมู่บ้านต่างๆ

กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง

ไทลื้อ

           ม้งในประเทศไทยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ ม้งขาว (ม้งเด้อ) และม้งดำ (ม้งตั้ว) ตามลักษณะภาษาพูดและการแต่งกาย โดยม้งทั้ง ๒ กลุ่ม สามารถสื่อภาษาของแต่ละกลุ่มรู้เรื่องทั้งหมดโดยไม่มีปัญหา เช่นคำว่า น้ำ ม้งขาว ใช้คำว่า “เด้” ส่วนม้งดำใช้คำว่า “เดร้” พวกคุณ ม้งขาวใช้คำว่า “เน้” ม้งดำใช้คำว่า “เม้” เป็นต้น สำหรับการแต่งกายที่มีลักษณะแตกต่างกันที่เห็นได้ชัดเจนคือ การแต่งกายของหญิงม้งขาวและม้งดำ โดยม้งดำจะสวมกระโปรงจีบ ซึ่งมีพื้นสีน้ำเงินดำ และมีลวดลายการเขียนผ้าบูติค ตัวเนื้อผ้ากระโปรงขอบชายกระโปรงช่วงล่างจะปักลวดลายสีต่างๆ มีผ้ากันเปื้อนสีดำปิดหน้า สวมเสื้อสีดำทั้งตัว มีผ้าสีเย็บทับกันทั้งสองแถบบริเวณด้านหน้า คอเสื้อด้านหลังแบบทหารเรือสีขาวอยู่ด้านนอก ใช้ผ้าแดงคาดเอว เกล้าผมมวย โดยปกติไม่โพกศีรษะ ส่วนผู้หญิงม้งขาวโดยปกติจะสวมใส่กางเกงสีดำ-น้ำเงินขาบานยาวถึงข้อเท้า ด้านหน้ามีผ้ากันเปื้อนสีน้ำเงินสลับดำต่อด้วยผ้าปักหนึ่งบ่วงและผ้าแดงต่อท้ายชายผ้าแดงปักดอกสีต่างๆ มัดไว้ด้านหลัง และมีผ้าปิดหลังสีดำสลับน้ำเงินอีกผืนหนึ่ง ส่วนเสื้อสีดำ-ฟ้า แขนยาวปกสีน้ำเงินสองแถบ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนปักเป็นดอกไว้สองแถบด้านหลังมีลักษณะแบบทหารเรือปักด้วยดอกสีต่างๆ แต่ถ้ามีเทศกาลปีใหม่หญิงม้งขาวจะสวมกระโปรงสีขาวทั้งผืน ศีรษะโพกด้วยผ้าสีดำชายผ้าปักด้วยดอกสีต่างๆ และใช้ไหมพรมแดงตกแต่งให้เกิดความสวยงาม



กลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน

ไทลื้อ

           ชาวเมี่ยนในจังหวัดน่านเป็นพวกฮุงเมี่ยน ซึ่งใช้ผ้าแดงพันศีรษะ โดยการแต่งกายมีลักษณะเด่นและบ่งบอกถึงความสามารถในการปักผ้าลายปักประเภทต่างๆ ที่ประณีตและสวยงาม ซึ่งเป็นความสามารถและความชำนาญของผู้หญิงเมี่ยนโดยแท้ ผู้หญิงเมี่ยนทุกคนได้รับการสอนให้ปักผ้ามาตั้งแต่เด็ก หญิงชาวเมี่ยนจะสวม เสื้อผ้าสีดำยาวคลุมเข่า แขนยาว มีการผ่าด้านข้างลำตัว ตั้งแต่สะโพกจนถึงปลายผ้ากุ๊นริมด้วยผ้าสี ส่วนมากจะเป็นสีฟ้า หรือสีน้ำเงินเข้ม คอเสื้อประดับด้วยไหมพรมสีแดง หรือบานเย็นตลอดจนถึงเอว มีกระดุมเป็นแผ่นเงิน ขนาด ๓ x ๕ เซนติเมตร ติดเป็นแนวนอน คล้ายเข็มกลัดติดบริเวณหน้าอก ศีรษะพันด้วยผ้าพื้นชั้นแรกเป็นสีแดง ชั้นนอกจะใช้ผ้าลายปักพันเป็น ๒ แบบ คือ แบบหัวโตและแบบหัวแหลม ผ้าพันนี้มีลายปักที่เชิงผ้าทั้ง ๒ ด้าน สวมกางเกงแบบขาก๊วยสีดำ ด้านหน้ากางเกงมีลายปักอย่างละเอียดงดงาม รวบปลายเสื้อที่ผ่าด้านข้างทั้งสองมามัดไว้ด้านหลัง ใช้ผ้าอีกผืนหนึ่งทำหน้าที่เป็นเข็มขัดทับเสื้อและกางเกงอีกรอบหนึ่ง โดยทิ้งชายผ้าไว้ด้านหลัง สำหรับผู้ชายสวมเสื้อพื้นดำ ปักลายดอกบนผืนผ้า คอเสื้อผ่าป้ายไปข้างลำตัว สวมกางเกงขาก๊วยสีดำ


กลุ่มชาติพันธุ์ไทพวน

           ชาวไทพวนได้รับการยกย่องว่าเป็นชนกลุ่มที่มีรูปร่างหน้าตาผิวพรรณดี กิริยาละเมียดละไม ขยันขันแข็งทำงาน มีภาษาพูด วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง การแต่งกายในชีวิตประจำวันของชาวไทพวน มีความคล้ายคลึงกับประชาชนคนพื้นเมืองเหนือทั่วไป หญิงมักไว้ผมยาวมุ่นเกล้าไว้ด้านหลังใช้ผ้าพันรอบอกแทนการสวมเสื้อ นุ่งซิ่นตีนจก หรือสีพื้นแทรกลายขวาง บางท้องถิ่นนิยมนุ่งซิ่นมัดหมี่ ซึ่งมีลวดลายสีสันงดงาม โดยอิงรูปแบบลายโบราณ ชายมักนุ่งกางเกงขาก๊วยดำ ปัจจุบันทั้งชายและหญิงไม่มีความแตกต่างกันด้านการแต่งกายมากนักเพราะแต่งตามสมัยนิยม แต่สิ่งที่เห็นว่าเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัดคือ หญิงแต่งงานแล้ว ผ้านุ่งจะเปลี่ยนเป็นผ้านุ่งซิ่นตีนจกซึ่งทอด้วยด้ายสีแดง และดำสลับกัน


กลุ่มชาติพันธุ์ขมุ

ไทลื้อ

           ขมุ เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรน้อยเป็นอันดับที่ ๔ ของชุมชนบนพื้นที่สูงจังหวัดน่าน และแบ่งออกเป็น ๕ กลุ่มย่อย ตามภาษา การแต่งกาย วัฒนธรรม และพิธีกรรม ได้แก่ ฮอก กะลัม เม เกวน และลื้อ

           ชาวขมุโดยทั่วไปนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำหรือสีเข้ม ผู้หญิงจะใช้ซิ่นลายขวางแบบลื้อ ตกแต่งด้วยผ้า ด้ายสี และเหรียญเงิน สวมใส่กำไลเงินที่คอและกำไลข้อมือ โพกศีรษะด้วยผ้าสีขาว โดยจะพบการแต่งกายลักษณะเหล่านี้ในกลุ่มผู้หญิงสูงอายุ เด็กรุ่นใหม่จะนิยมแต่งกายแบบพื้นเมือง ส่วนผู้ชายนิยมสักตามแขนหรือตามร่างกายส่วนต่างๆ ซึ่งยังพบอยู่ในกลุ่มผู้ชายที่สูงอายุเช่นกัน

           ชาวขมุมีความเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ตามสถานที่ต่างๆ การกระทำการใดๆ จะต้องบอกกล่าวให้เจ้าที่ทราบและจะให้ความคุ้มครอง โดยเฉพาะวิญญาณของบรรพบุรุษ


กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี (ตองเหลือง)

ไทลื้อ

           จังหวัดน่านมีชนชาวมลาบรีอาศัยอยู่ในพื้นที่ ๓ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเวียงสา บ้านหลวง และอำเภอเมือง ชาวมลาบรีไม่มีชุดเสื้อผ้าประจำเผ่าของตนเอง ในอดีตชาวมลาบรีจะใช้ผ้าขาวม้าปกปิดร่างกายในที่ลับเท่านั้น ไม่สวมเสื้อหรือกางเกงใดๆ ส่วนหญิงจะสวมเสื้อและผ้าซิ่นตามที่ได้รับบริจาค หรือซื้อแลกเปลี่ยนจากบุคคลภายนอก ที่นำมาให้หญิงมลาบรีสวมใส่ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันชนเผ่ามลาบรีได้ออกมารับจ้างชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆ และหันมาสวมเสื้อผ้าแบบบุคคลโดยทั่วไป

กลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าลัวะ

ไทลื้อ

           เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจํานวนประชากรมากที่สุดของจังหวัดน่าน มีการจัดแบ่ง ตามลักษณะของภาษา และการเรียกชนเผ่าของตนเองออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ ลัวะมัล และลัวะไปร ชาวลัวะมีผิวสีคล้ํา ร่างเล็ก ภาษาพูดเป็นภาษาในตระกูล มอญ-เขมร นับถือผีเจ้าที่ โดยขอให้เจ้าที่ซึ่งสถิตย์อยู่ในสถานที่ต่างๆ มาให้การ คุ้มครอง เช่น เจ้าที่หมู่บ้าน เจ้าที่บ้านเรือน เจ้าที่ไร่นา เจ้าที่ห้วย เจ้าที่ภูเขา และเจ้าที่แม่น้ํา ตลอดจนวิญญาณบรรพบุรุษของลัวะ ลัวะชาย จะสวมกางเกงขากว้างก้นหย่อน หรือนุ่งโสร่งสีดํา ทอจากผ้าพื้นเมือง มีผ้าเอวรัด และโพกศีรษะ ส่วนตัวะหญิง สวมเสื้อสีดําหรือขาว ผ่าอก แขนยาว ชายเสื้อป้ายไขว้ไปทางด้านข้าง เหน็บด้วยกระดุม โพกศีรษะด้วยผ้าขาวหรือเทา สวมเครื่องประดับสร้อยคอ กําไลข้อมือ


กลุ่มชาติพันธุ์ไทพวน

           เป็นชนกลุ่มที่มีภาษาพูด วัฒนธรรม และประเพณี เป็นของตนเอง การแต่งกายในชีวิตประจําวันของไทพวน มีความคล้ายคลึงกับคนพื้นเมืองเหนือทั่วไป หญิงมักไว้ ผมยาวมุ่นเกล้าไว้ด้านหลัง ใช้ผ้าพันรอบอกแทนการสวมเสื้อ นุ่งซิ่นตีนจก หรือสีพื้นแทรกลายขวาง บางท้องถิ่นนิยม นุ่งซิ่นมัดหมี ซึ่งมีลวดลายสีสันงดงาม โดยอิงรูปแบบลาย โบราณ ชายมักนุ่งกางเกงขาก๊วยดํา ปัจจุบันทั้งชายและ หญิงไม่มีความแตกต่างกันด้านการแต่งกายมากนัก เพราะ แต่งตามสมัยนิยม แต่สิ่งที่เห็นว่าเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัด คือ หญิงแต่งงานแล้ว ผ้านุ่งจะเปลี่ยนเป็นผ้านุ่งซิ่นตีนจก ซึ่งทอด้วยด้ายสีแดง และดําสลับกัน


กลุ่มชาติพันธุ์ก่อ

           อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาทางตอนใต้ของประเทศจีน มายังประเทศลาว และได้อพยพ มาอาศัยในจังหวัดน่าน ที่อําเภอท่าวังผา บ้านหมูเน่า (บ้านเชียงแลในปัจจุบัน) โดยการนําของเจ้าชีสิต เมืองน่าน และท้าวกุมมะแสน ผู้นํากลุ่ม ต่อมาได้อพยพมาอยู่ที่บ้านเสือกิน เมื่อ ๕๐๐ ปีที่แล้ว ให้มา ทําหน้าที่ในการทําดินประสิว ในปี พ.ศ. ๒๐๘๔ ทางเจ้าผู้ครองนครแพร่ได้ขอก่อที่อพยพมาอาศัยอยู่ที่ “บ้านเสือกิน” (ต่อมา เรียกเพี้ยนกันมาเป็น “บ้านสะเกิน”) จํานวน 5 คู่ จากผู้ครองนครน่าน เพื่อให้ไปทําหน้าที่เลี้ยงม้าที่ บ้านดง ตําบลสนเขื่อน อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ ปัจจุบันขาวก่อส่วนที่เหลืออาศัยอยู่หมู่บ้านเสือกิน เพื่อทําดินประสิว ส่งเป็นส่วยให้กับทางเจ้าผู้ครองนครน่าน เพื่อนํามาทําดินปืนส่งให้เจ้าครองนคร เมืองน่านทําสงคราม นอกจากขนเผ่ากอที่อาศัยอยู่ที่บ้านสะเกินแล้ว ยังมีการอพยพโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย และมีการ แต่งงานสืบเชื้อสายกับชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยในพื้นที่ ปัจจุบันมีลูกหลานชนเผ่าก่ออาศัยอยู่ในพื้นที่ ตําบลยอดจํานวน ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านสะเกิน และหมู่บ้านยอด


กลุ่มชาติพันธุ์ถิ่น

ไทลื้อ

           ชาวเขาเผ่าถิ่นซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบ ภูเขา รอยต่อระหว่างจังหวัดน่านกับแขวงชัยบุรี ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น มีประวัติความเป็นมาของเผ่าที่ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากชาวถิ่นไม่มีภาษาเขียนของตนเอง จึงไม่มีการจดบันทึกประวัติความเป็นมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งข้อสงสัยดังกล่าวแยกเป็น ๒ แนวทาง คือชาวเขาเผ่าถิ่นเป็นชนชาติดั้งเดิมซึ่งตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทยก่อนแล้ว และอีกแนวหนึ่งว่าอพยพมาจากประเทศลาว ซึ่งยังไม่สามารถยืนยันได้ นักวิชาการท่านหนึ่งได้เขียนไว้เมื่อปี พ . ศ . ๒๕๐๗ คาดคะเนว่าชาวถิ่นได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเมื่อ ๔๐ – ๘๐ ปีมาแล้ว อีกท่านหนึ่งได้เขียนไว้เมื่อปี พ . ศ . ๒๕๐๖ ว่าชาวถิ่นกลุ่มแรกได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเมื่อปี พ . ศ . ๒๔๗๑ และยังได้คาดคะเนไว้อีกว่าชาวถิ่นอาจจะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อนที่คนไทยจะ อพยพจากประเทศจีนมาอยู่ในแหลมอินโดจีนนี้เสียอีก


1 / 4
2 / 4
3 / 4
4 / 4
4 / 4
ภาพถ่ายห้องฉายวีดีทัศน์
ภาพถ่ายห้องฉายวีดีทัศน์
ภาพถ่ายห้องฉายวีดีทัศน์
ภาพถ่ายห้องฉายวีดีทัศน์
ภาพถ่ายห้องฉายวีดีทัศน์