หน้าแรก   ห้องที่ 1   ห้องที่ 2   ห้องที่ 3   ห้องที่ 4   ห้องที่ 5   ห้องที่ 6   ห้องที่ 7   ห้องที่ 8   ห้องที่ 9   คณะกรรมการบริหาร

  หออัตลักษณ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนน่าน

  หออัตลักษณ์นครน่าน

ห้องที่ 7 สืบศิลป์ถิ่นน่าน

สืบศิลป์ถิ่นน่าน

ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของเมืองน่าน ตลอดจนเรื่องราวของสถานที่ โบราณวัตถุโบราณสถาน

ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมเมืองน่าน

           ลักษณะทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของน่านเริ่มปรากฏรูปแบบเด่นชัด นับตั้งแต่การสร้างเวียงปัวเมื่อประมาณ พ.ศ.๑๘๐๐ สถาปัตยกรรมสมัยเริ่มแรกเป็นแบบไทลื้อ ซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของน่านร่วมกับชาวลัวะ มีถิ่นที่อยู่แถบดอยภูคามาแต่เดิม งานสถาปัตยกรรมในยุคนี้ ได้แก่ วัดต้น วัดหนองแดง และพระธาตุเบ็งสกัด

           นอกเหนือจากลักษณะทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายของเมืองน่าน ผลของความสัมพันธ์ของเมืองน่านกับเมืองอื่นๆ นับตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย ทำให้ลักษณะทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากแหล่งต่างๆ ทั้งศิลปะสุโขทัย ศิลปะล้านนา ศิลปะอยุธยา จนถึงศิลปะรัตนโกสินทร์ มาเป็นแรงบันดาลใจผสมผสานให้เกิดงานศิลป์ต่างๆ ดังจะเห็นได้จากเมื่อครั้งที่น่านมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอาณาจักรสุโขทัยก็ปรากฏศิลปกรรมสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยอยู่มาก เช่น เจดีย์วัดสวนตาล ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ภายหลังเมื่อมีการบูรณะ เจดีย์จึงเปลี่ยนทรง) เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารที่มีช้างล้อมรอบส่วนฐานเจดีย์ หรือเมื่อน่านตกอยู่ในครอบครองของอาณาจักรล้านนาเป็นระยะเวลาเกือบ๑๐๐ ปี จึงซึมซับศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาไว้ในวิถีชีวิตโดยเฉพาะด้านศาสนาปรากฏศิลปกรรมอิทธิพลล้านนาเข้ามาแทนที่อิทธิพลศิลปะสุโขทัย เช่น เจดีย์สี่เหลี่ยมที่วัดพญาวัด

           พัฒนาการด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่ช่างชาวน่านร่วมกันสร้างสรรค์สืบเนื่องมา ตั้งแต่ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ก่อนก้าวเข้าสู่สมัยปัจจุบัน ยังปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในเมืองน่าน ส่วนใหญ่เป็นอาคารและถาวรวัตถุทางศาสนา เช่น วัด เจดียสถาน พระพุทธรูป

House

วัดหนองแดง

House

วัดพระธาตุเบ็งสกัด

House

วัดพญาวัด

House

วัดต้นแหลง

House

วัดสวนตาล

House

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร


จิตรกรรมของจังหวัดน่าน

           งานจิตรกรรมฝาผนังของจังหวัดน่านมีเรื่องราวพุทธประวัติชาดกและปัญญาชาดก อันเป็นคัมภีร์ที่รจนาขึ้นทางภาคเหนือ อาทิ เรื่องคันธกุมาร และจันทคาธชาดก รายละเอียดของภาพจิตรกรรมยังแสดงให้เห็นถึง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวน่านระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ที่ปรากฏเป็นหลักฐานมี ๔ แห่งด้วยกัน คือ

           จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ (เดิมเป็นวิหารวัดภูมินทร์) เขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ.๒๔๐๑ - ๒๔๑๗ เป็นเรื่องคันธกุมารชาดก พุทธประวัติ แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ แสดงเรื่องชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต

ไทลื้อ

           จิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารวัดช้างค้ำวรวิหารสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเดียวกันกับจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ เนื่องจากพระอุโบสถสร้างในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ภาพส่วนใหญ่ลบเลือนเพราะมีการฉาบปูนทับเมื่อมีการบูรณะตัววิหารชั้นใน คงเหลือให้เห็นเป็นการแสดงเรื่องความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต

           จิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา เขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ.๒๔๑๐ - ๒๔๔๙ เป็นเรื่องจันทคาธชาดก และภาพอดีตของพระพุทธเจ้า บางภาพแสดงเรื่องความเป็นอยู่ของชีวิตชาวน่านในอดีต

           จิตรกรรมบนฝาผนังฐานชุกชีภายในวิหารวัดหนองแดง อำเภอเชียงกลาง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่าง ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เป็นภาพจิตรกรรมแสดงเรื่องพระมาลัย มีลักษณะฝีมือแตกต่างไปจากจิตรกรรมฝาผนังวัดอื่นๆ

House

ภาพวาด
จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์

House

ภาพวาด
จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์

House

ภาพวาด
จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์

House

ภาพวาด
จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์

1 / 4
2 / 4
3 / 4
ภาพถ่ายห้องฉายวีดีทัศน์
ภาพถ่ายห้องฉายวีดีทัศน์
ภาพถ่ายห้องฉายวีดีทัศน์